ฝุ่น เนื้อหา แหล่งที่มา ผลกระทบ อ้างอิง รายการเลือกการนำทางมลภาวะทางอากาศความรู้เกี่ยวกับฝุ่นละอองฝุ่นฝุ่นกับการเกิดภูมิแพ้ โรคหืดหอบ
ฝุ่น
ฝุ่นละอองน้ำมันเตาถ่านหินฟืนแกลบจมูกปอดสหรัฐอเมริการะบบทางเดินหายใจโรคหอบหืดกรุงเทพมหานครอากาศ
(function()var node=document.getElementById("mw-dismissablenotice-anonplace");if(node)node.outerHTML="u003Cdiv class="mw-dismissable-notice"u003Eu003Cdiv class="mw-dismissable-notice-close"u003E[u003Ca tabindex="0" role="button"u003Eปิดu003C/au003E]u003C/divu003Eu003Cdiv class="mw-dismissable-notice-body"u003Eu003Cdiv id="localNotice" lang="th" dir="ltr"u003Eu003Cp class="mw-empty-elt"u003Eu003C/pu003Eu003C/divu003Eu003C/divu003Eu003C/divu003E";());
ฝุ่น
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
ฝุ่น เป็นอนุภาคในอากาศที่มีแหล่งที่มาจากหลาย ๆ ที่ เช่น ฝุ่นจากดินที่ถูกลมพัดขึ้นมา ฝุ่นจากการระเบิดของภูเขาไฟ หรือจากมลภาวะต่างๆ ฝุ่นในที่พักอาศัย สำนักงาน หรือแม้แต่ ละอองเกสรของพืช เส้นผมหรือขนของคนและสัตว์ สิ่งทอ เส้นใย เศษผิวหนังของมนุษย์ สิ่งหลงเหลือจากอุกกาบาต และจากอีกหลายอย่าง หลายวัตถุ ในสภาพแวดล้อมทั่วไป[1][2]
เนื้อหา
1 แหล่งที่มา
2 == ฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ (Natural Particle)
2.1 ฝุ่นละอองที่เกิดจากกิจกรรมที่มนุษย์ (Man-made Particle)
2.2 ผลกระทบ
2.3 อ้างอิง
แหล่งที่มา
แหล่งที่มาของฝุ่นละอองในบรรยากาศ โดยทั่วไปจะแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
== ฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ (Natural Particle)
ฝุ่นละอองที่เกิดจากกิจกรรมที่มนุษย์ (Man-made Particle)
- การคมนาคมขนส่ง
รถบรรทุกหิน ดิน ทราย ซีเมนต์หรือวัตถุที่ทำให้เกิดฝุ่น หรือดินโคลนที่ติดอยู่ที่ล้อรถ ขณะแล่นจะมีฝุ่นตกอยู่บนถนน แล้วกระจายตัวอยู่ในอากาศ ไอเสียจากรถยนต์ เครื่องยนต์ดีเซลปล่อยเขม่า ฝุ่น ควันดำ ออกมา ถนนที่สกปรก มีดินทรายตกค้างอยู่มาก หรือมีกองวัสดุข้างถนนเมื่อรถแล่นจะทำให้เกิดฝุ่นปลิวอยู่ในอากาศ การก่อสร้างถนนใหม่ หรือการปรับปรุงผิวจราจร ทำให้เกิดฝุ่นมาก ฝุ่นที่เกิดจากยางรถยนต์ และผ้าเบรก
- การก่อสร้าง
การก่อสร้างหลายชนิด มักมีการเปิดหน้าดินก่อนการก่อสร้าง ซึ่งทำให้เกิดฝุ่นได้ง่าย เช่น อาคาร สิ่งก่อสร้าง การปรับปรุงสาธารณูปโภค การก่อสร้างอาคารสูง ทำให้ฝุ่นปูนซีเมนต์ถูกลมพัดออกมาจากอาคารการรื้อถอน ทำลาย อาคารหรือสิ่งก่อสร้าง
- โรงงานอุตสาหกรรม
การเผาไหม้เชื้อเพลิง เช่น น้ำมันเตา ถ่านหิน ฟืน แกลบ เพื่อนำพลังงานไปใช้ในการผลิต กระบวนการผลิตที่มีฝุ่นออกมา เช่น การปั่นฝ้าย การเจียรโลหะ การเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ[3]
ผลกระทบ
- ต่อมนุษย์
ฝุ่นที่มีอนุภาคขนาดใหญ่มักจะไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์มากนัก เนื่องจากจมูกของคนเราสามารถกรองฝุ่นที่มีขนาดใหญ่ประมาณ 10 ไมครอนขึ้นไป ส่วนฝุ่นที่มีขนาดเล็กสามารถผ่านเข้าสู่ปอดได้ มีผลงานวิจัยในสหรัฐอเมริการะบุว่า ผู้ที่อาศัยในบริเวณที่มีฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน อยู่ในปริมาณมากจะทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหอบหืด นอกจากนี้ฝุ่นที่มีขนาดเล็กในทุกปริมาณ 10 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร จะทำให้อัตราการเสียชีวิตจากโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 อาการกำเริบของโรคหอบหืดก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เช่นกัน
นอกจากฝุ่นละอองจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองตาแล้ว ยังทำอันตรายต่อระบบหายใจเมื่อเราสูดเอาอากาศที่มีฝุ่นละอองเข้าไป โดยอาการระคายเคืองนั้นจะเกิดขึ้นตามส่วนต่างๆ ของระบบทางเดินหายใจขึ้นอยู่กับขนาดของฝุ่นละออง โดยฝุ่นที่มีขนาดใหญ่ร่างกายจะดักไว้ได้ที่ขนจมูก ส่วนฝุ่นที่มีขนาดเล็กนั้นสามารถเล็ดลอดเข้าไปในระบบหายใจ ทำให้ระคายเคืองแสบจมูก ไอ จาม มีเสมหะ หรือมีการสะสมของฝุ่นในถุงลมปอด ทำให้การทำงานของปอดเสื่อมลง[4]
- ต่อสิ่งแวดล้อม
ฝุ่นละอองจะลดความสามารถในการมองเห็น ทำให้ทัศนวิสัยไม่ดี เนื่องจากฝุ่นละอองในบรรยากาศเป็นอนุภาคของแข็งที่ดูดซับและทำให้เกิดหักเหแสงได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดและความหนาแน่น และองค์ประกอบของฝุ่นละออง ฝุ่นละอองที่ตกลงมา นอกจากจะทำให้เกิดความสกปรกเลอะเทอะแก่บ้านเรือน อาคาร สิ่งก่อสร้างแล้ว ยังทำให้เกิดการทำลายและกัดกร่อนผิวหน้าของโลหะ หินอ่อน หรือวัตถุอื่นๆ เช่น รั้วเหล็ก หลังคาสังกะสี รูปปั้น
ในกรุงเทพมหานครของไทยมีการตรวจวัดคุณภาพอากาศมาตั้งแต่ พ.ศ. 2531 มีฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน สูงกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ที่ 50 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ในการสำรวจ 1,692 ครั้ง มีปริมาณเกินกว่าค่ามาตรฐาน 108 ครั้ง[5]
อ้างอิง
↑ Kathleen Hess-Kosa, (2002), Indoor Air Quality: sampling methodologies, page 216. CRC Press.
↑ มลภาวะทางอากาศ
↑ ความรู้เกี่ยวกับฝุ่นละออง
↑ ฝุ่น
↑ ฝุ่นกับการเกิดภูมิแพ้ โรคหืดหอบ
หมวดหมู่:
- ฝุ่น
(window.RLQ=window.RLQ||[]).push(function()mw.config.set("wgPageParseReport":"limitreport":"cputime":"0.048","walltime":"0.066","ppvisitednodes":"value":142,"limit":1000000,"ppgeneratednodes":"value":0,"limit":1500000,"postexpandincludesize":"value":320,"limit":2097152,"templateargumentsize":"value":76,"limit":2097152,"expansiondepth":"value":7,"limit":40,"expensivefunctioncount":"value":0,"limit":500,"unstrip-depth":"value":0,"limit":20,"unstrip-size":"value":2081,"limit":5000000,"entityaccesscount":"value":0,"limit":400,"timingprofile":["100.00% 23.167 1 แม่แบบ:รายการอ้างอิง","100.00% 23.167 1 -total"," 11.17% 2.587 1 แม่แบบ:Main_other"],"scribunto":"limitreport-timeusage":"value":"0.003","limit":"10.000","limitreport-memusage":"value":536491,"limit":52428800,"cachereport":"origin":"mw1277","timestamp":"20190405092826","ttl":2592000,"transientcontent":false););"@context":"https://schema.org","@type":"Article","name":"u0e1du0e38u0e48u0e19","url":"https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9D%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99","sameAs":"http://www.wikidata.org/entity/Q165632","mainEntity":"http://www.wikidata.org/entity/Q165632","author":"@type":"Organization","name":"Contributors to Wikimedia projects","publisher":"@type":"Organization","name":"Wikimedia Foundation, Inc.","logo":"@type":"ImageObject","url":"https://www.wikimedia.org/static/images/wmf-hor-googpub.png","datePublished":"2012-01-01T09:23:24Z","dateModified":"2017-11-26T09:41:58Z","image":"https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/3/34/Dust-storm-Texas-1935.png"(window.RLQ=window.RLQ||[]).push(function()mw.config.set("wgBackendResponseTime":127,"wgHostname":"mw1320"););